3. การเป็นกายเดียวกันในพระคริสต์ ไม่ใช่ไม่ต้องรับผิดชอบต่อกัน
และประชาชนก็นั่งอยู่รอบพระองค์ เขาจึงทูลพระองค์ว่า “นี่แน่ะท่าน มารดาและพวกน้องชายของท่านมาหาท่านคอยอยู่ข้างนอก” (มาระโก 3:32)
หลายครั้งเราประมาท เพราะใกล้ชิด สนิทกัน แต่สนิทกันจริงหรือไม่? เราให้ความสำคัญกับความรู้สึกของคนใกล้ชิดหรือไม่? เขาเสียใจหรือโกรธกับคำพูดของเราหรือไม่? หลายครั้งเราไม่แคร์กัน โดยเฉพาะเรื่องคำพูด
ชุมชนฝ่ายวิญญาณที่ดีจะต้องใช้เวลา พูดคุยกันและกัน
3.1. รับผิดชอบในความสัมพันธ์ที่มีต่อกัน
พวกสาวกมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับพระองค์ เป็นเหมือนคนในครอบครัว ใช้เวลาร่วมกัน อยู่เคียงข้างกันกับพระองค์ นี่แหละคือความรับผิดชอบในความสัมพันธ์
มีเพื่อนที่แสร้งทำเป็นเพื่อน แต่มีมิตรบางคนที่ใกล้ชิดยิ่งกว่าพี่น้อง (สุภาษิต 18:24)
เราจะต้องมีความรับผิดชอบในความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน
ทุกวันนี้เรามีความรับผิดชอบในความสัมพันธ์เช่นไร? เราต้องรับผิดชอบในความสัมพันธ์ที่มีต่อกัน ใช้เวลาสามัคคีธรรมร่วมกันในคริตจักร และหาโอกาสใช้เวลาร่วมกันนอกคริสตจั้กร
3.2. รับผิดชอบในความรักห่วงใย และปกป้องกัน
32 และประชาชนก็นั่งอยู่รอบพระองค์ เขาจึงทูลพระองค์ว่า “นี่แน่ะท่าน มารดาและพวกน้องชายของท่านมาหาท่านคอยอยู่ข้างนอก”
33 พระองค์ตรัสตอบเขาว่า “ใครเป็นมารดาของเรา และใครเป็นพี่น้องของเรา” (มาระโก 3:32-33)
สาวกห่วงพระเยซูคริสต์ เพื่อที่พระองค์จะได้พบกับมารดาและน้องชาย และพระเยซูคริสต์ก็ทรงห่วงความรู้สึกของสาวกรอบข้างพระองค์มาก ต่างฝ่ายต่างห่วงใย สนใจความรู้สึกต่อกันและกัน
บางครั้งเราไม่มีสายใยที่ดีต่อกัน ห่วงใยต่อกันน้อย
เราควรคิดถึงห่วงใยความรู้สึกของอีกฝ่าย และปกป้องเมื่อมีคนให้ร้าย ปกป้องในทางที่ดี
เมื่อเรามีปัญหา เราเคยปรึกษาพี่น้องในคริสตจักรหรือไม่? หรือเราปรึกษาคนที่ไม่ได้เป็นคริสเตียน? บ้านเราเป็นบ้านแห่งความรัก อบอุ่น มีความเข้าใจ เปิดเผยได้ วางใจกันได้
ศจ. ทิวาพร ราชรักษ์
คำเทศนาค่ายสามคณะ คริสตจักรสะพานเหลือง "กายเดียวกัน"
ระหว่างวันที่ 23-25/10/2010 ณ อาราญาน่า ภูพิมาน รีสอร์ทแอนด์สปา
การนมัสการเช้าวันที่ 24/10/2010
สรุปโดย ธีรยสถ์ นิมมานนท์
หมายเหตุ: ถ้าพี่น้องพบว่ามีข้อความส่วนใดที่ผิดพลาด รบกวนช่วยแจ้งให้ผมทราบด้วยนะครับ เพื่อจะได้รีบทำการแก้ไขครับ เนื่องจากอาจเกิดจากความผิดพลาดในการสรุปของผมเองครับ ขอบคุณครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น